หัวข้อ   “ คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2556
นักเศรษฐศาสตร์คาดเศรษฐกิจไทยปี 56 โต 4.6% การส่งออกจะขยายตัว 6.8% เงินเฟ้อจะอยู่ที่ 3.4%
อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะลดไปอยู่ที่ 2.50% ค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 30.68 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ   พร้อมชี้
เศรษฐกิจโลกยังเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 1
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจ
ความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 35 แห่ง จำนวน 73 คน เรื่อง
คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2556”  โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 6–13 พ.ย. ที่ผ่านมา
พบว่า
 
                 นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 3.3
เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 4.6 ราคาน้ำมันดิบ(WTI) จะอยู่ที่ 99.8 ดอลลาร์
สหรัฐต่อบาร์เรล อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 3.4
 
                 ในส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายนักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 31.5 เชื่อว่า
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบันที่ร้อยละ
2.75 ไปสู่ระดับร้อยละ 2.50 ภายในสิ้นปี 2556 ส่วนค่าเงินบาทคาดว่าจะอยู่ที่ 30.68
บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และการส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 6.8 ด้านการเคลื่อนไหวของ
ค่าเฉลี่ยของ SET Index นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 45.2 คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นจากปี
2555 และโดยจุดสูงสุดของปี 2556 จะอยู่ที่ 1,400 จุด
 
                 ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยปี 2556 คือ อันดับ 1 เศรษฐกิจโลกในภาพรวม (ร้อยละ
79.5)   อันดับ 2 หนี้สาธารณะของประเทศสหรัฐอเมริกา และ กลุ่มยูโรโซน (ร้อยละ 69.9) อันดับ 3 ปัญหาการเมือง/การ
ชุมนุมประท้วง/เสถียรภาพของรัฐบาล(ร้อยละ 64.4)
 
                 สำหรับข้อเสนอต่อรัฐบาล/หน่วยงานด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ
ปี 2556
คือ
                          1. ลดการดำเนินนโยบายประชานิยม ลดการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะโครงการรับจำนำ
ข้าว ซึ่งจะช่วยลดปัญหาหนี้สาธารณะที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต และช่วยให้มีความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายการคลังมากขึ้น
                          2. เน้นลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในโครงการต่างๆ รวมถึงโครงการที่มีความเกี่ยวเนื่องกับ AEC มีการ
เบิกจ่ายเงินที่เป็นไปตาม พรก.บริหารจัดการน้ำ มีการพัฒนาการศึกษา สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถ
ในการแข่งขันให้กับประเทศ
                          3. มีการดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่สอดประสานกัน โดยเห็นว่าควรดำเนินนโยบายการเงินที่
ผ่อนคลายและดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัว ควรมีมาตรการควบคุมฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงควรมีแผน
สำรองเพื่อรองรับวิกฤติ (shock) ที่อาจจะเกิดขึ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก
 
                  (โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
 
             1. คาดการณ์ การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2555

 
ร้อยละ
จะขยายตัวร้อยละ 5.1-6.0
1.4
จะขยายตัวร้อยละ 4.1-5.0
1.4
จะขยายตัวร้อยละ 3.1-4.0
64.4
จะขยายตัวร้อยละ 2.1-3.0
30.2
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
2.6
                    ค่าเฉลี่ยของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเท่ากับ ร้อยละ 3.3
 
 
             2. คาดการณ์ การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2555

 
ร้อยละ
จะขยายตัวร้อยละ 6.1-7.0
2.7
จะขยายตัวร้อยละ 5.1-6.0
13.7
จะขยายตัวร้อยละ 4.1-5.0
67.1
จะขยายตัวร้อยละ 3.1-4.0
11.0
จะขยายตัวร้อยละ 2.1-3.0
4.1
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
1.4
                    ค่าเฉลี่ยของการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเท่ากับ ร้อยละ 4.6
 
 
             3. คาดการณ์ ราคาน้ำมันดิบ WTI เฉลี่ยในปี 2556

 
ร้อยละ
อยู่ในช่วง 121-130 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลโดยเฉลี่ย
2.7
อยู่ในช่วง 111-120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลโดยเฉลี่ย
5.5
อยู่ในช่วง 101-110 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลโดยเฉลี่ย
35.6
อยู่ในช่วง 91-100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลโดยเฉลี่ย
39.7
อยู่ในช่วง 81-90 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลโดยเฉลี่ย
11.0
อยู่ในช่วง 71-80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลโดยเฉลี่ย
1.4
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
4.1
                    ค่าเฉลี่ยของราคาน้ำมันดิบ WTI เท่ากับ 99.8 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
 
             4. คาดการณ์ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยปี 2556

 
ร้อยละ
อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 4.1-5.0
5.5
อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 3.1-4.0
69.9
อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 2.1-3.0
20.5
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
4.1
                    ค่าเฉลี่ยของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 3.4
 
 
             5. คาดการณ์ อัตราดอกเบี้ยนโยบายปี 2556

 
ร้อยละ
ธปท. จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 2.75
         ไปสู่ระดับร้อยละ 3.25 ภายในปี 2556
12.3
ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 2.75
         ตลอดปี 2556
26.0
ธปท. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 2.75
         ไปสู่ระดับร้อยละ 2.50 ภายในปี 2556
31.5
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
30.2
              หมายเหตุ: อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่คาดการณ์เป็นค่ากลาง
 
 
             6. คาดการณ์ การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทโดยเฉลี่ย ในปี 2556

 
ร้อยละ
ค่าเงินบาทจะอยู่ระหว่าง 32.1- 33.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
5.5
ค่าเงินบาทจะอยู่ระหว่าง 31.1- 32.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
21.9
ค่าเงินบาทจะอยู่ระหว่าง 30.1- 31.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
47.9
ค่าเงินบาทจะอยู่ระหว่าง 29.1- 30.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
15.1
ค่าเงินบาทจะอยู่ระหว่าง 28.1- 29.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
2.7
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
6.9
                    ค่าเฉลี่ยของค่าเงินบาท เท่ากับ 30.68 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
 
 
             7. คาดการณ์ การขยายตัวของ การส่งออกของไทยในปี 2556 เมื่อเทียบกับปี 2555
                 (ในรูปของเงินบาท)

 
ร้อยละ
ขยายตัวอยู่ระหว่างร้อยละ 16-20
2.7
ขยายตัวอยู่ระหว่างร้อยละ 11-15
9.6
ขยายตัวอยู่ระหว่างร้อยละ 6-10
43.8
ขยายตัวอยู่ระหว่างร้อยละ 1-5
35.6
ขยายตัวอยู่ร้อยละ 0
1.4
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
6.9
                    ค่าเฉลี่ยของการขยายตัวการส่งออกเท่ากับ ร้อยละ 6.8
 
 
             8. คาดการณ์ ค่าเฉลี่ยของดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) ในปี 2556

 
ร้อยละ
ค่าเฉลี่ยของ SET Index จะปรับเพิ่มขึ้นจากปี 2555 และคาดว่า
         จุดสูงสุดของปี 2556 จะอยู่ที่ 1,400 จุด
45.2
ค่าเฉลี่ยของ SET Index จะปรับลดลงจากปี 2555 และ คาดว่าจุดต่ำสุด
         ของปี 2556 จะอยู่ที่ 1,050 จุด
8.2
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
46.6
              หมายเหตุ: SET Index ที่คาดการณ์เป็นค่ากลาง
 
 
             9. ปัจจัยใดจะส่งผลกระทบและฉุดรั้งเศรษฐกิจไทยปี 2556 มากที่สุด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
อันดับ 1 เศรษฐกิจโลกในภาพรวม
79.5
อันดับ 2 หนี้สาธารณะของประเทศสหรัฐอเมริกา กลุ่มยูโรโซน และญี่ปุ่น
69.9
อันดับ 3 ปัญหาการเมือง/การชุมนุมประท้วง/เสถียรภาพของรัฐบาล
64.4
อันดับ 4 ปัญหาภัยธรรมชาติ/ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
37.0
อันดับ 5 ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน
32.9
อันดับ 6 การเปิดเสรีทางการค้า ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มการค้าอาเซียน ไทยจีน เป็นต้น
19.2
อันดับ 7 ค่าเงินบาทที่คาดว่าจะแข็งค่าขึ้น
17.8
อื่นๆ เช่นการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ ความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบในโครงการ
ของรัฐ การประมูล 3 จีที่อาจมีปัญหา การไม่มีเสถียรภาพและเอกภาพสำหรับ
การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การหมดอายุของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใช้อยู่
8.2
 
 
             10. ข้อเสนอต่อรัฐบาล/หน่วยงานเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจปี 2556
                   (เป็นคำถามปลายเปิดให้นักเศรษฐศาสตร์ระบุเอง)

 
อันดับ 1 ลดการดำเนินนโยบายประชานิยม ลดการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะ
           โครงการรับจำนำข้าว ซึ่งจะช่วยลดปัญหาหนี้สาธารณะที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
           และช่วยให้มีความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายการคลังมากขึ้น
อันดับ 2 เน้นลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในโครงการต่างๆ รวมถึงโครงการที่มีความเกี่ยวเนื่อง
           กับ AEC มีการเบิกจ่ายเงินที่เป็นไปตาม พรก.บริหารจัดการน้ำ มีการพัฒนาการศึกษา
           สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ
อันดับ 3 มีการดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่สอดประสานกัน โดยเห็นว่าควรดำเนินนโยบาย
           การเงินที่ผ่อนคลายและดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัว ควรมีมาตรการควบคุม
           ฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงควรมีแผนสำรองเพื่อรองรับวิกฤติ (shock)
           ที่อาจจะเกิดขึ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก
อันดับ 4 ควรมีการดูแลภาคส่งออกเป็นพิเศษเนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก
           พร้อมๆ กับการให้ความสำคัญกับตลาดในประเทศด้วยการกระตุ้นอุปสงค์ เพิ่มการ
           กระจายรายได้ให้เป็นธรรมขึ้น รวมถึงการเตรียมแผนรองรับปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น
           ในปีหน้า เช่น ปัญหาจากการเพิ่มค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ ปัญหาเงินเฟ้อ เป็นต้น
อันดับ 5 มีการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของภาครัฐที่เข้มงวด เพื่อลดปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น
อันดับ 6 สร้างระบบเตือนภัยธรรมชาติ มีการให้ข้อมูลจริงโดยเฉพาะจากหน่วยงานภาครัฐ
           ให้ความสำคัญกับการจ้างงานและราคาสินค้ามากกว่าการให้ความสำคัญกับการขยายตัว
           ทางเศรษฐกิจ
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรง
                      ไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
                  2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์
                      สูงสุดกับประเทศไทย
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใด
               อย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้
               ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจ
               ระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 35 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา
               การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
               สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์   สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
               ประเทศไทย (TDRI)   ศูนย์วิจัยกสิกรไทย   ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดสินค้าเกษตร
               ล่วงหน้าแห่งประเทศไทย   สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
               บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด   ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย   ธนาคารกรุงไทย
               ธนาคารธนชาต  ธนาคารทหารไทย   ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย   บริษัทหลักทรัพย์ภัทร   บริษัทหลักทรัพย์
               เคจีไอ   บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน   บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส   บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน
               กรุงไทย   บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคิน   บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ฟินันซ่า
               คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ  สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
               คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   คณะวิทยาการจัดการ
               มหาวิทยาลัยขอนแก่น   คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร
               คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง   สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ
               มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ  คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์
               มหาวิทยาลัย   และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลา
ที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  6 - 12 พฤศจิกายน 2555
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 16 พฤศจิกายน 2555
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
33
45.2
             หน่วยงานภาคเอกชน
22
30.1
             สถาบันการศึกษา
18
24.7
รวม
73
100.0
เพศ:    
             ชาย
38
52.1
             หญิง
35
47.9
รวม
73
100.0
อายุ:
 
 
             26 – 35 ปี
32
43.9
             36 – 45 ปี
19
26.0
             46 ปีขึ้นไป
22
30.1
รวม
73
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
2
2.7
             ปริญญาโท
52
71.3
             ปริญญาเอก
19
26.0
รวม
73
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
12
16.4
             6 - 10 ปี
23
31.6
             11 - 15 ปี
12
16.4
             16 - 20 ปี
5
6.8
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
21
28.8
รวม
73
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776